9 เทคนิค ฝึกสมองไบรท์
โดย วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจาก ม.ฮาร์วาร์ด
1. จิบน้ำบ่อยๆ สมองประกอบด้วยน้ำ 85 เปอร์เซ็นต์
เซลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เซลล์สมองเหี่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อยๆ
2. กินไขมันดี คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน
ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่างปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดีที่ทำให้เซลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที
เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Thet a ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุดๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ (ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน)
4. ใส่ความตั้งใจ
การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
5. หัวเราะและยิ้มบ่อยๆ
ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอนเดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขหลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา ฯลฯเพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอนเดอร์ฟินและโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ไปเรื่อยๆ เมื ่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน
ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเองเป็นการลดภาระของสมอง
8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดีๆ
ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข ฯลฯ เพราะการเขียนเรื่องดีๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9. ฝึกหายใจลึกๆ
สมองใช้ออกซิเจน 20-25 เปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึกๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนานๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยืดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกซิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 เปอร์เซ็นต์
บทสัมภาษณ์จาก : วนิษา เรซ
ชุดนักศึกษา เสื้อนักศึกษา หญิง ชาย กระโปรงนักศึกษา ไซส์ใหญ่ กางเกงเดฟ เข็มขัด ตุ้งติ้ง ทรงผมรับปริญญา
วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
ภูมิใจไหม ? สื่อแดนปลาดิบมองชุดนักศึกษาไทยเซ็กซี่ที่สุด
กลายเป็นกระแสร้อนแรงในโลกไซเบอร์ไปแล้ว สำหรับประเด็นสื่อจากประเทศญี่ปุ่นยกให้ “ชุดนักศึกษาไทย” เป็นชุดนักศึกษาที่เซ็กซี่ที่สุด !!
โดยข้อมูลที่อ้างจากเว็บไซต์ popcornfor2.com เผยว่า มีสื่อของญี่ปุ่นหลายฉบับ ต่างกล่าวว่า เครื่องแบบนักเรียน (ในที่นี่หมายถึงเครื่องแบบนักศึกษา) เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องได้รับการประเมิน เนื่องจากเครื่องแบบก็กลายมาเป็นหนึ่งในแฟชั่นอีกประเภทเช่นกัน โดยได้จัดทำการสำรวจขึ้น ซึ่งผลการสำรวจ สื่อญี่ปุ่นได้ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ว่า เครื่องแบบนักศึกษาของไทย เป็นเครื่องแบบนักศึกษาที่เซ็กซี่ที่สุด เพราะส่วนของเสื้อเชิ้ตจะโชว์ให้เห็นถึงสัดส่วนของร่างกาย ส่วนกระโปรงก็สั้นมาก โดยมีความยาวไม่ถึง 20 เซนติเมตร
เมื่อประเด็นข่าวดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ จึงกลายเป็นประเด็นร้อนแรงตามหน้าเว็บบอร์ดของไทยหลายแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็แสดงความไม่เห็นด้วย เพราะมองว่า เครื่องแบบนักศึกษาในสายตาสื่อต่างชาติที่มองว่าเซ็กซี่นั้น ในความเป็นจริง คือ เครื่องแบบที่ผิดระเบียบ บางส่วนก็มองว่าเป็นความน่าอับอาย
Life on Campus สำรวจความคิดเห็นในประเด็นนี้ กับนิสิตนักศึกษาไทย ว่ามีมุมมองอย่างไรต่อข่าวนี้
เริ่มที่ “พิมพ์ชฎา พูลทัศฐาน” นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เผยว่า ส่วนตัวเวลาไปเรียน จะสวมกระโปรงสอบ เสื้อไม่รัดติ้ว ไม่นุ่งสั้นจนน่าเกลียดอยู่แล้ว แต่ก็ไม่แปลกใจว่าเหตุใดสื่อญี่ปุ่นจึงมองชุดนักศึกษาไทยว่าเซ็กซี่
“เหตุผล คือ นักศึกษาที่แต่งตัวผิดระเบียบมีเป็นจำนวนมากนั่นเองค่ะ หลายคนแต่งตามแฟชั่นจนดูล่อแหลม โดยเฉพาะสถานศึกษาบางแห่งที่ไม่เข้มงวดในการควบคุมชุดนักศึกษา ก็ยิ่งเห็นนักศึกษานุ่งสั้น รัดติ้วจำนวนมาก” พิมพ์ชฎา กล่าว
นิสิต มศว เผยต่อไปว่า คณะที่ตนเรียน มีนิสิตแต่งกายไม่เหมาะบ้างเหมือนกัน แต่มหาวิทยาลัยก็มีมาตรการในการควบคุม อาทิ หากแต่งกายไม่เหมาะสมจนถึงขั้นไม่สุภาพ รปภ.จะไม่อนุญาตให้ขึ้นไปบนอาคารเรียน รวมถึงอาจารย์จะเรียกไปว่ากล่าวตักเตือน
“การแก้ปัญหาเรื่องการแต่งกายของนิสิตนักศึกษา สำคัญที่สุดจึงอยู่ที่มหาวิทยาลัย ที่จะต้องควบคุม สร้างค่านิยมให้กับนักศึกษาว่าการแต่งกายถูกระเบียบเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งไม่ต้องถึงกับขนาดว่าต้องสวมเสื้อตัวใหญ่ หรือกระโปรงคลุมเข่าก็ได้ แต่ให้อยู่ในความเหมาะสมพอเหมาะพอดี นิสิตนักศึกษาเองก็ควรภูมิใจในเครื่องแบบสถาบันของตนเอง และต้องคิดว่าการแต่งกายแบบนั้นมีผลร้าย มากกว่าผลดี”
นิสิตศิลปกรรมฯ มศว สรุปทิ้งท้ายว่า การที่สื่อต่างชาติมีมุมมองเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องที่น่าภูมิใจ เพราะภาพลักษณ์ด้านการศึกษา ไม่ควรเกี่ยวข้องกับความเซ็กซี่ และการแต่งกายถูกระเบียบย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า
สอดคล้องกับความเห็นของ “ศิรภัสสร อินนันชัย” นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แสดงความเห็นว่า รู้สึกไม่ดีที่ภาพลักษณ์ด้านการศึกษาไปเกี่ยวข้อง หรือสื่อไปในทางเพศ
“ที่คณะนิเทศฯ จุฬาฯ เวลานิสิตเข้าปี 1 จะมีกฎการแต่งกาย คือ สวมกระโปรงพีต กระโปรงต้องยาวครึ่งแข้ง เป็นชุดเฟรชชี่ที่ถูกระเบียบ เมื่อนิสิตขึ้นปี 2 ก็เลยไม่ค่อยมีใครแต่งรัดติ้ว นุ่งสั้นมากจนน่าเกลียด เพราะมันจะดูแปลก กลายเป็นที่จับตามองจากคนอื่นในคณะ ดังนั้นการรณรงค์เรื่องการแต่งกายที่มาจากเพื่อน พี่ น้อง ร่วมคณะ น่าจะช่วยได้มาก และการแก้ปัญหาก็ต้องช่วยกันสร้างค่านิยมที่เหมาะสม” นิสิต จากคณะนิเทศศาสตร์ กล่าว
ส่วนมุมมองของนักศึกษาชายอย่าง “ทศพร กล้าหาญ” นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ยอมรับว่า เป็นเรื่องจริง เพราะยังไม่เห็นชุดนักศึกษาประเทศไหนเซ็กซี่ขนาดนี้
“กระโปรงสั้นๆสีดำ กับขาขาวๆ ผมว่ามันตัดกันดูเซ็กซี่ดี แถมยังใส่ส้นสูงอีก เจอที่ไหนก็ต้องมอง คงเซ็กซี่ตรงตรงนี้แหละ เสื้อก็รัดทุกสัดส่วน ของต่างประเทศเขาไม่มียูนิฟอร์ม คือ เขาจะแต่งยังไงก็เรียนได้ แต่ก็น่าแปลก ภาพความเซ็กซี่ของเขาไม่ชัดเท่าของเรา”
ตัวอย่างชุดนักศึกษาไทยที่ถูกระเบียบของมหาวิทยาลัย
แต่ในมุมมองของ “ศิริรัตน์ ชั่นศิริ” จากมหาวิทยาลัยนเรศวร กลับมองต่างกันไปว่า ประเทศอื่นน่าจะเซ็กซี่กว่านี้ ส่วนของประเทศไทยอาจจะใช่ในระดับหนึ่ง แต่คิดว่าหากเป็นอันดับหนึ่งก็ดูแรงไป
“คิดว่าเมืองนอกเขาฟรีสไตล์แต่งยังไงก็ได้น่าจะเซ็กซี่มากกว่าอีก ไทยมียูนิฟอร์มดูรัดกุมกว่า แต่อาจจะเป็นบางคนที่แต่งตัวแบบเซ็กซี่ก็เป็นส่วนน้อย อย่างบางคนต้องเดินทางขึ้นรถเมล์หรือขึ้นบันไดอะไรต่าง ๆก็ควรเซฟตัวเองให้มากที่สุด แต่บางคนรู้แต่ก็ไม่ทำ”
ศิริรัตน์ ยังให้ข้อคิดว่า ชุดนักศึกษาใส่แค่ 4 ปี เพราะฉะนั้นแต่งให้เหมาะสมดีกว่า อย่าให้ใครมาว่า หรือดูถูกชุดนักศึกษาไทยเลย บางคนแต่งชุดดูแล้วเหมือนไม่ใช่นักศึกษา น่าจะไปทำอาชีพอื่นมากกว่า
นอกจากนี้ Life on Campus ยังมีความคิดเห็นจากนิสิตต่างชาติอย่าง “Healin Han” หรือ “ลิน” นิสิตแลกเปลี่ยนจาก Far East University (FEU) ประเทศเกาหลีใต้ ที่มาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่ง Life on Campus เคยสัมภาษณ์เกี่ยวกับชุดนิสิตเอาไว้
โดย ลิน เผยว่า เป็นเรื่องที่เธอประหลาดใจ สำหรับเครื่องแบบนิสิต เพราะที่ประเทศเกาหลีมียูนิฟอร์มสำหรับนักเรียนมัธยมเท่านั้น แต่เธอก็รู้สึกว่าเครื่องแบบนิสิตนักศึกษาไทยเป็นสิ่งที่ดี
“ฉันก็รู้สึกแปลกๆ แต่สักพักก็รู้สึกดี คิดว่าเป็นเครื่องแบบที่สวยงาม แล้วเป็นเรื่องที่ดี เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเลือกว่า วันนี้ฉันจะใส่ชุดอะไรไปมหาวิทยาลัย” สาวเกาหลี ให้ความเห็น
ข้อมูลจาก manager online
โดยข้อมูลที่อ้างจากเว็บไซต์ popcornfor2.com เผยว่า มีสื่อของญี่ปุ่นหลายฉบับ ต่างกล่าวว่า เครื่องแบบนักเรียน (ในที่นี่หมายถึงเครื่องแบบนักศึกษา) เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องได้รับการประเมิน เนื่องจากเครื่องแบบก็กลายมาเป็นหนึ่งในแฟชั่นอีกประเภทเช่นกัน โดยได้จัดทำการสำรวจขึ้น ซึ่งผลการสำรวจ สื่อญี่ปุ่นได้ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ว่า เครื่องแบบนักศึกษาของไทย เป็นเครื่องแบบนักศึกษาที่เซ็กซี่ที่สุด เพราะส่วนของเสื้อเชิ้ตจะโชว์ให้เห็นถึงสัดส่วนของร่างกาย ส่วนกระโปรงก็สั้นมาก โดยมีความยาวไม่ถึง 20 เซนติเมตร
เมื่อประเด็นข่าวดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ จึงกลายเป็นประเด็นร้อนแรงตามหน้าเว็บบอร์ดของไทยหลายแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็แสดงความไม่เห็นด้วย เพราะมองว่า เครื่องแบบนักศึกษาในสายตาสื่อต่างชาติที่มองว่าเซ็กซี่นั้น ในความเป็นจริง คือ เครื่องแบบที่ผิดระเบียบ บางส่วนก็มองว่าเป็นความน่าอับอาย
Life on Campus สำรวจความคิดเห็นในประเด็นนี้ กับนิสิตนักศึกษาไทย ว่ามีมุมมองอย่างไรต่อข่าวนี้
เริ่มที่ “พิมพ์ชฎา พูลทัศฐาน” นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เผยว่า ส่วนตัวเวลาไปเรียน จะสวมกระโปรงสอบ เสื้อไม่รัดติ้ว ไม่นุ่งสั้นจนน่าเกลียดอยู่แล้ว แต่ก็ไม่แปลกใจว่าเหตุใดสื่อญี่ปุ่นจึงมองชุดนักศึกษาไทยว่าเซ็กซี่
“เหตุผล คือ นักศึกษาที่แต่งตัวผิดระเบียบมีเป็นจำนวนมากนั่นเองค่ะ หลายคนแต่งตามแฟชั่นจนดูล่อแหลม โดยเฉพาะสถานศึกษาบางแห่งที่ไม่เข้มงวดในการควบคุมชุดนักศึกษา ก็ยิ่งเห็นนักศึกษานุ่งสั้น รัดติ้วจำนวนมาก” พิมพ์ชฎา กล่าว
นิสิต มศว เผยต่อไปว่า คณะที่ตนเรียน มีนิสิตแต่งกายไม่เหมาะบ้างเหมือนกัน แต่มหาวิทยาลัยก็มีมาตรการในการควบคุม อาทิ หากแต่งกายไม่เหมาะสมจนถึงขั้นไม่สุภาพ รปภ.จะไม่อนุญาตให้ขึ้นไปบนอาคารเรียน รวมถึงอาจารย์จะเรียกไปว่ากล่าวตักเตือน
“การแก้ปัญหาเรื่องการแต่งกายของนิสิตนักศึกษา สำคัญที่สุดจึงอยู่ที่มหาวิทยาลัย ที่จะต้องควบคุม สร้างค่านิยมให้กับนักศึกษาว่าการแต่งกายถูกระเบียบเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งไม่ต้องถึงกับขนาดว่าต้องสวมเสื้อตัวใหญ่ หรือกระโปรงคลุมเข่าก็ได้ แต่ให้อยู่ในความเหมาะสมพอเหมาะพอดี นิสิตนักศึกษาเองก็ควรภูมิใจในเครื่องแบบสถาบันของตนเอง และต้องคิดว่าการแต่งกายแบบนั้นมีผลร้าย มากกว่าผลดี”
นิสิตศิลปกรรมฯ มศว สรุปทิ้งท้ายว่า การที่สื่อต่างชาติมีมุมมองเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องที่น่าภูมิใจ เพราะภาพลักษณ์ด้านการศึกษา ไม่ควรเกี่ยวข้องกับความเซ็กซี่ และการแต่งกายถูกระเบียบย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า
สอดคล้องกับความเห็นของ “ศิรภัสสร อินนันชัย” นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แสดงความเห็นว่า รู้สึกไม่ดีที่ภาพลักษณ์ด้านการศึกษาไปเกี่ยวข้อง หรือสื่อไปในทางเพศ
“ที่คณะนิเทศฯ จุฬาฯ เวลานิสิตเข้าปี 1 จะมีกฎการแต่งกาย คือ สวมกระโปรงพีต กระโปรงต้องยาวครึ่งแข้ง เป็นชุดเฟรชชี่ที่ถูกระเบียบ เมื่อนิสิตขึ้นปี 2 ก็เลยไม่ค่อยมีใครแต่งรัดติ้ว นุ่งสั้นมากจนน่าเกลียด เพราะมันจะดูแปลก กลายเป็นที่จับตามองจากคนอื่นในคณะ ดังนั้นการรณรงค์เรื่องการแต่งกายที่มาจากเพื่อน พี่ น้อง ร่วมคณะ น่าจะช่วยได้มาก และการแก้ปัญหาก็ต้องช่วยกันสร้างค่านิยมที่เหมาะสม” นิสิต จากคณะนิเทศศาสตร์ กล่าว
ส่วนมุมมองของนักศึกษาชายอย่าง “ทศพร กล้าหาญ” นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ยอมรับว่า เป็นเรื่องจริง เพราะยังไม่เห็นชุดนักศึกษาประเทศไหนเซ็กซี่ขนาดนี้
“กระโปรงสั้นๆสีดำ กับขาขาวๆ ผมว่ามันตัดกันดูเซ็กซี่ดี แถมยังใส่ส้นสูงอีก เจอที่ไหนก็ต้องมอง คงเซ็กซี่ตรงตรงนี้แหละ เสื้อก็รัดทุกสัดส่วน ของต่างประเทศเขาไม่มียูนิฟอร์ม คือ เขาจะแต่งยังไงก็เรียนได้ แต่ก็น่าแปลก ภาพความเซ็กซี่ของเขาไม่ชัดเท่าของเรา”
ตัวอย่างชุดนักศึกษาไทยที่ถูกระเบียบของมหาวิทยาลัย
แต่ในมุมมองของ “ศิริรัตน์ ชั่นศิริ” จากมหาวิทยาลัยนเรศวร กลับมองต่างกันไปว่า ประเทศอื่นน่าจะเซ็กซี่กว่านี้ ส่วนของประเทศไทยอาจจะใช่ในระดับหนึ่ง แต่คิดว่าหากเป็นอันดับหนึ่งก็ดูแรงไป
“คิดว่าเมืองนอกเขาฟรีสไตล์แต่งยังไงก็ได้น่าจะเซ็กซี่มากกว่าอีก ไทยมียูนิฟอร์มดูรัดกุมกว่า แต่อาจจะเป็นบางคนที่แต่งตัวแบบเซ็กซี่ก็เป็นส่วนน้อย อย่างบางคนต้องเดินทางขึ้นรถเมล์หรือขึ้นบันไดอะไรต่าง ๆก็ควรเซฟตัวเองให้มากที่สุด แต่บางคนรู้แต่ก็ไม่ทำ”
ศิริรัตน์ ยังให้ข้อคิดว่า ชุดนักศึกษาใส่แค่ 4 ปี เพราะฉะนั้นแต่งให้เหมาะสมดีกว่า อย่าให้ใครมาว่า หรือดูถูกชุดนักศึกษาไทยเลย บางคนแต่งชุดดูแล้วเหมือนไม่ใช่นักศึกษา น่าจะไปทำอาชีพอื่นมากกว่า
นอกจากนี้ Life on Campus ยังมีความคิดเห็นจากนิสิตต่างชาติอย่าง “Healin Han” หรือ “ลิน” นิสิตแลกเปลี่ยนจาก Far East University (FEU) ประเทศเกาหลีใต้ ที่มาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่ง Life on Campus เคยสัมภาษณ์เกี่ยวกับชุดนิสิตเอาไว้
โดย ลิน เผยว่า เป็นเรื่องที่เธอประหลาดใจ สำหรับเครื่องแบบนิสิต เพราะที่ประเทศเกาหลีมียูนิฟอร์มสำหรับนักเรียนมัธยมเท่านั้น แต่เธอก็รู้สึกว่าเครื่องแบบนิสิตนักศึกษาไทยเป็นสิ่งที่ดี
“ฉันก็รู้สึกแปลกๆ แต่สักพักก็รู้สึกดี คิดว่าเป็นเครื่องแบบที่สวยงาม แล้วเป็นเรื่องที่ดี เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเลือกว่า วันนี้ฉันจะใส่ชุดอะไรไปมหาวิทยาลัย” สาวเกาหลี ให้ความเห็น
ข้อมูลจาก manager online
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)